ความสำคัญของกฎหมาย




   เดิมเรียกชื่อว่า "พระธรรมศาสตร์" (JURISPRUDENCE) มาจากคำว่า JURISPRUDENTIA ซึ่ง พระเจ้าจัสติเนียน (JUSTINIAN) ทรงบัญญัติขึ้นใช้เป็นครั้งแรก และประเทศอังกฤษได้นำเอาคำนี้มาใช้ทับศัพท์ว่า "JURISPRUDENCE" 



   เสด็จในกรม กรมหลวง ราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) ซึ่งทรงสำเร็จกฎหมายจากประเทศอังกฤษได้ทรงทำหลักวิชานี้มาสอนที่โรงเรียน กฎหมายกระทรวงยุติธรรมเป็นครั้งแรก วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปจึงแปลมาจากภาษาอังกฤษที่ว่า (PRINCPLE OF JURISPRUDENCE) ได้แก่หลักพระธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผู้แปลว่าหลักความรู้ในทางธรรมะหรือในสิ่งที่เป็นธรรม แต่เป็นความหมายที่ไม่ตรงกับเนื้อหาวิชานี้มุ่งจะศึกษาแต่ประการใด ศดร. ธีระ ศรีธรรมรักษ์ เห็นว่าวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายนี้ใกล้เคียงกันมากกับหนังสือ กฎหมายเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นวิชาตำราเรียนขั้นต้นในทางกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสคือ INTRODUCTION A LA SCIENCE DU DROIT (ใช้ในภาษาอังกฤษว่า INTRODUCTION TO THE SCIENCE OF LAW) อันเป็นวิชาที่จะต้องศึกษาก่อนที่จะศึกษาถึงเนื้อความของกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ดีในปจัจุบันนักนิติศาสตร์ไทยหลายท่านได้ให้คำนิยามวิชาความรู้ เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป พอสรุปได้ว่า "วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป เป็นวิชาที่มุ่งจะศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทั่ว ไปที่เป็นรากฐานและความรู้สึกนึกคิดในการก่อให้เกิดกฎหมายขึ้นซึ่งแตกต่าง กันไปตามระบบกฎหมายของแต่ละประเทศ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษากฎหมายลักษณะต่างๆ หรือกฎหมายเฉพาะได้ง่ายและสะดวกขึ้น"
     
ความสำคัญของกฎหมาย

    
        ปัจจุบันกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์แต่ละคน อย่างมากตั้งแต่มนุษย์อยู่ในครรภ์มารดา กฎหมายก็เข้ามารับรองสิทธิของทารกในครรภ์มารดาพอทารกคลอดออกมาแล้วกฎหมายก็ บังคับ ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดาต้องไปแจ้งเกิดเพื่อขอรับสูติบัตร เมื่ออายุ 15 ปี กฎหมายก็บังคับให้ต้องทำบัตรประชาชน โตขึ้นมาอีกจะแต่งงานกฎหมายก็บังคับให้ต้องจดทะเบียนสมรส พอแก่ตัวใกล้จะตาย กฎหมายก็เปิดทางให้สามารถกำหนดการเผื่อตาย โดยการทำพินัยกรรม จนกระทั่งคนตายกฎหมายก็บังคับให้ผู้พบเห็นการตายต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐในทางเศรษฐกิจเองกฎหมายก็เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก เช่น การที่บุคคลจะรวมตัวกัน จัดตั้งเป็นองค์กรธุรกิจเองกฎหมายก็เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก เช่น การที่บุคคลจะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรธุรกิจ ก็ต้องพิจารณาว่าจะจัดตั้งในรูปใด จะเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ซึ่งก็มีกฎหมายเข้ามากำหนดหลักเกณฑ์ เมื่อทำธุรกิจมีกำไรก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งก็เป็นเรื่องของกฎหมายอีกเมื่อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวกับชีวิตคนเราเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องศึกษากฎหมาย เพื่อให้ทราบถึงสิทธิหน้าที่ของตนเองที่มีตามกฎหมาย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
 อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับว่าคนทุกคนจะต้องรู้กฎหมาย แต่ก็มีหลักกฎหมายว่า "ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" ทั้งนี้ก็โดยเหตุเนื่องมาจากการใช้นโยบายว่าบุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดชอบตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้เพราะหากให้มีการกล่าวอ้างดังกล่าวได้ การบังคับใช้กฎหมายก็จะไม่เป็นผล เพราะทุกคนต่างก็จะอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นผิดเสมอนอกจากนี้หาก ยอมให้อ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ต้องรับผิดได้ ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้คนไม่ต้องรับรู้กฎหมาย เพราะรู้กฎหมายน้อยก็รับผิดน้อย
          หลักกฎหมายที่ว่า "ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" นี้บัญญัติอยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลจะแก้ต้วว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้พ้นจากความผิดในทางอาญาไม่ได้แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิด อาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้" ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 64 นี้ไม่ยอมรับเอาความไม่รู้กฎหมายขึ้นเป็นข้อแก้ตัว แต่อย่างไรก็ตามมีบางกรณีหากไม่ยอมรับฟังความไม่รู้กฎหมายแล้ว ก็อาจเป็นการไม่ยุติธรรมเช่น คนต่างด้าวที่เพิ่งเดินทางเข้ามาในประเทศ หรือผู้ที่อยู่ห่างไกลมากไม่สามารถทราบถึงกฎหมายที่ประกาศใช้ใหม่ ฉะนั้นจึงมีข้อยกเว้นให้อ้างความไม่รู้กฎหมายได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ


      1) ศาลเห็นว่า
 ตามสภาพและพฤติการณ์ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ กฎหมายบัญญัติให้การกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และ

      2) ศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น
 
ผล ของการอ้างความไม่รู้กฎหมายที่ครบตามเงื่อนไข 2 ประการข้างต้น ก็คือ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ แต่จะไม่ลงโทษไม่ได้ ซึ่งเท่ากับว่า แม้ข้ออ้างว่าไม่รู้กฎหมาย ศาลจะเชื่อและรับฟังก็ไม่ทำให้ผู้ยก ข้ออ้างนี้หลุดพ้นจากความรับผิด ทางอาญาแต่อย่างใด
     ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้
       1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ  เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
       2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

      
3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

      
4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้น ฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น
       ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้ มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการ ดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ